โยเกิร์ตมีส่วนช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ชนิดดีให้ระบบลำไส้

Dessertโยเกิร์ตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ระหว่างการหมักนมด้วยแบคทีเรียชนิดดีที่จัดอยู่ในจำพวกโพรไบโอติก ซึ่งจะเปลี่ยนน้ำตาลนมเป็นกรดแลคติก นมจึงเปลี่ยนสภาพเป็นกึ่งเหลวกึ่งข้น มีรสเปรี้ยวคล้ายนมบูด การกินโยเกิร์ตมีส่วนช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ชนิดดีให้ระบบลำไส้ได้ โดยคุณค่าทางอาหารของโยเกิร์ตนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตในโยเกิร์ตในขณะที่รับประทาน ดังนั้นขบวนการผลิต การบรรจุ การเก็บ ตลอดจนการขนส่ง ล้วนแล้วแต่มีผลต่อคุณภาพของโยเกิร์ต  ถึงแม้ว่าจะไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนในการกำหนดคุณภาพของโยเกิร์ต แต่โยเกิร์ตที่ดีควรมีแบคทีเรียที่ยังมีชีวิต 100 ถึง 1000 ล้านตัวต่อปริมาณโยเกิร์ต 1 มิลลิกรัม

โยเกิร์ตนั้นเหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะสาวๆทั้งหลายเนื่องจากผู้หญิงเราต้องได้รับปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอ เพื่อเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรง มิฉะนั้นเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน มวลกระดูกของเราจะผุกร่อนเกิดเป็นโรคกระดูกผุได้ง่ายๆ หากสาวคนไหนทานนมตอนเช้าไม่ได้ก็ให้ทานโยเกิร์ตก่อนในตอนเช้า แล้วช่วงเที่ยง หรือค่ำ ค่อยรับประทานนมสดเสริมแคลเซียมอีกก็ได้ ในโยเกิร์ตมีแคลเซียมไม่เท่านม ดังนั้นถ้าถามว่าทานโยเกิร์ตหนึ่งถ้วยจะได้ปริมาณแคลเซียมเท่ากับทานนมในปริมาณหนึ่งถ้วยด้วยมั้ย ก็คงไม่เท่า แต่ก็ถือว่าเป็นอีกทางที่ทำให้ได้รับแคลเซียม และอย่างที่กล่าวไปแล้วว่าโยเกิร์ต ช่วยให้ลำไส้ ย่อยน้ำตาลที่มีในนมได้ ดังนั้นการทานโยเกิร์ตจึงเป็นอีกทางที่สร้างสมดุลให้ลำไส้พร้อมที่จะรับประทานนมได้ง่ายขึ้น

การทานโยเกิร์ตที่ให้โปรตีนและแคลเซียมปริมาณสูงกว่านม เพราะกรดแลคติกในโยเกิร์ตจะย่อยแคลเซียมในนม ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวมของวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง โดยในโยเกิร์ตชนิดไขมันต่ำ 1 ถ้วย มีสารอาหารมากถึง 11 ชนิด ได้แก่ ไอโอดีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินบี 2 โปรตีน วิตามิน บี 12 ทริปโทฟาน โปตัสเซียม โมลิปเดนัม สังกะสี วิตามิน บี 5  จึงไม่น่าแปลกใจที่ โยเกิร์ต จะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ชาวบัลแกเรียอายุยืน